อาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม และความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้สารอาหารที่ครบถ้วนสมดุล เหมาะสมกับความต้องการยังเป็นส่วนจำเป็นที่ช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพดี แข็งแรง ตามช่วงอายุและกิจกรรม ดังนั้น หากสัตว์เลี้ยงมีปัญหาเกี่ยวกับการไวต่ออาหาร ก็ยิ่งสมควรได้รับการเอาใจใส่เกี่ยวกับการให้อาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ภาวะไวต่ออาหารคืออะไร
การไวต่ออาหาร เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียก ปฏิกิริยาตอบสนองในแง่ลบต่ออาหาร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
-การแพ้อาหารหรือภูมิไวเกิน (Food allergy or hypersensitivity)
เป็นปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งมักเป็นสารจำพวกโปรตีน เมื่อเกิดการแพ้อาหารขึ้นแล้วก็มักจะแพ้ไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การกำจัดสารที่ทำให้เกิดการแพ้ออกจากอาหาร
-การไม่ทนต่ออาหาร (Food intolerance)
เกิดจากสาเหตุอื่นๆที่นอกเหนือจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน สัตว์เลี้ยงบางตัวอาจไม่สามารถทนต่ออาหารได้ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงส่วนประกอบของอาหารที่ทำให้เกิดการไวต่ออาหาร
จะทราบได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงไวต่ออาหาร
อาการแพ้อาหาร หรือไม่ทนต่ออาหาร ส่วนใหญ่คือ ความผิดปกติของการย่อยอาหาร หรือ การระคายเคืองผิวหนัง ดังนั้น สัตว์เลี้ยงของท่านอาจแสดงอาการเหล่านี้เมื่อเกิดการไวต่ออาหาร
อาการที่พบบ่อย
-อาเจียน
-ท้องเสียหรือท้องอืด
-เกาบ่อยๆและขนร่วง
-ผิวหนังอักเสบแดง
-หูอักเสบเรื้อรัง
-สัตว์อายุน้อยมีการเจริญเติบโตช้า
-ไอ หายใจมีเสียงและจาม
ข้อความจำ
อาการบางอย่างของการไวต่ออาหารอาจเหมือนกับปัญหาความผิดปกติอื่นๆ ดังนั้นควรปรึกษาสัตว์แพทย์เมื่อพบเห็นอาหารผิดปกติ
อะไรคือสาเหตุของการไวต่ออาหาร
อาหาร ชนิดที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในสุนัขได้บ่อยที่สุด คือ เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์จากนมและข้าวสาลี สำหรับในแมว คือ เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์จากนมและเนื้อปลา
ความเสียหายอื่นๆ การอักเสบ การติดเชื้อ การผ่าตัด และยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดความเสียหายของระบบย่อยอาหารและเพิ่มความเสี่ยงต่อการไวอาหาร
อายุ การไวต่ออาหารพบบ่อยเมื่อสัตว์อายุน้อยและความรุนแรงของปฏิกิริยาการแพ้ มักจะรุนแรงในสัตว์อายุน้อย
สายพันธุ์ สัตว์บางสายพันธุ์มีความเสี่ยงต่อการไวต่ออาหาร เช่น แมวพันธุ์ไทย สุนัขพันธุ์เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรียร์ คอกเกอร์ สแปเนียลและไอริช เซตเตอร์
ข้อแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์
-หากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงของท่านไวต่ออาหาร กรุณาปรึกษาสัตวแพทย์โดยตรง
-ให้อาหารเฉพาะสัตวแพทย์แนะนำเท่านั้น
-ขอคำแนะนำและสอบถามวิธีการผสมอาหารเม็ดและอาหารกระป๋องได้จากสัตวแพทย์
-ควรงดอาหารและของขบเคี้ยวอื่นๆที่นอกเหนือจากอาหารที่สัตวแพทย์แนะนำ
-ระวังอย่าให้สัตว์เลี้ยงคุ้ยเขยะ หรือเศษอาหาร
-ควรทำความสะอาดภาชนะ และเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพออยู่เสมอ
-หากอาการต่างๆไม่ดีขึ้น หรือกลับมาป่วยอีก ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์